ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต
ซึ่งมนุษย์ทุกคนต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา
เป็นปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิต และการสื่อสารทำให้เกิดสิ่งต่างๆ
มากมาย ทำให้ประเทศนั้นเกิดการเจริญก้าวหน้า
บุคคลในสังคมมีความรู้และทันโลกอยู่ตลอดเวลา
ความหมายของการสื่อสาร
กระบวนการถ่ายทอด ข่าวสาร ความรู้ ข้อคิดเห็น ประสบการณ์ ต่างๆ ซึ่งก่อให้เกิดความเข้าใจซึ่งกันและกัน โดยผ่านสื่อต่างๆ จากบุคคลหนึ่งไปยังบุคคลหนึ่ง
เกิดกระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสม และมีปฏิกิริยาตอบกลับด้วย จึงจะสัมฤทธิ์ผลได้
ความสำคัญของการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ ทุกเพศ
ทุกวัย จึงก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กับระหว่างบุคคลและสังคม
ช่วยทำให้บุคคลในสังคมเข้าใจซึ่งกันและกัน และสามารถเป็นปัจจัยสำคัญอีกอย่างในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้า
ทั้งตัวบุคคลและสังคม
หลักในการสื่อสาร
1. ผู้ที่จะสื่อสารให้ได้ผลและเกิดประโยชน์
จะต้องทำความข้าใจในเรื่ององค์ประกอบในการสื่อสารอย่างดี
2.ต้องคำนึงสิ่งแวดล้อมในการสื่อสาร
3.คำนึงถึงกรอบการอ้างอิง ถ้าเรามีกรอบอ้างอิงใกล้เคียงกัน
ก็สามารถสื่อสารกันง่าย
4.การสื่อสารจะมีประสิทธิผลได้ ผู้ส่งสารส่งสารอย่างมีวัตถุประสงค์ที่ชัดเจน
5.ผู้ส่งสารและผู้รับสาร ควรเตรียมตัวและเตรียมการล่วงหน้า
6.คำนึงถึงการใช้ทักษะ
7.คำนึงถึงปฏิกิริยาการตอบกลับตลอดเวลา
วัตถุประสงค์การสื่อสาร
1. เพื่อแจ้งให้ทราบ
2. เพื่อสอนหรือให้การศึกษา
3. เพื่อสร้างความพอใจหรือให้ความบันเทิง
4. เพื่อเสนอหรือชักจูงใจ
5. เพื่อเรียนรู้
6. เพื่อกระทำหรือตัดสินใจ
องค์ประกอบของการสื่อสาร
ผู้ส่งสาร หมายถึง บุคคล กลุ่มบุคคล หรือ หน่วยงานที่ทำหน้าที่ในการส่งสาร
สาร หมายถึง เรื่องราวที่มีความหมาย หรือสิ่งต่างๆ ที่อาจอยู่ในรูปของข้อมูล ความรู้
ความคิด ฯลฯ ซึ่งถ่ายทอดจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสารให้ได้รับความรู้
แสดงออกมาโดยอาศัยภาษาหรือสัญลักษณ์ใดๆ ที่ทำให้เกิดการรับรู้ร่วมกัน
สื่อ หรือ ช่องทาง หมายถึง สิ่งที่เป็นพาหนะของสาร ทำหน้าที่นำสารจากผู้ส่งสารไปยังผู้รับสาร
ผู้ส่งสารต้องอาศัยสื่อหรือช่องทางทำหน้าที่นำสารไปสู่ผู้รับสาร
ผู้รับสาร หมายถึง บุคคล
กลุ่มบุคคล หรือมวลชนที่รับเรื่องราวข่าวสาร
จากผู้ส่งสารและแสดงปฏิกิริยาตอบกลับต่อผู้ส่งสาร หรือส่งสารต่อไปถึงผู้รับสารคนอื่น ๆ
ประเภทของการสื่อสาร
1.จำแนกตามจำนวนผู้สื่อสาร
1.1 การสื่อสารภายในตัวบุคคล
1.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
1.3 การสื่อสารกลุ่มใหญ่
1.4 การสื่อสารองค์การ
1.5 การสื่อสารมวลชน
2.จำแนกตามลักษณะการใช้ภาษา
2.1 การสื่อสารที่ใช้ภาษาถ้อยคำ
หรือการสื่อสารเชิงวัจนภาษา
2.2 การสื่อสารที่ไม่ใช้ภาษาถ้อยคำ
หรือการสื่อสารเชิงอวัจนภาษา
3.จำแนกโดยถือเกณฑ์เห็นหน้าค่าตากัน
3.1 การสื่อสารแบบเผชิญหน้าหรือการสื่อสารทางตรง
3.2 การสื่อสารแบบไม่เห็นหน้าหรือการสื่อสารทางอ้อม
4.จำแนกโดยถือเกณฑ์ความสามารถในการโต้ตอบกัน
4.1 การสื่อสารทางเดียว
4.2 การสื่อสารสองทาง
5.จำแนกประเภทตามเกณฑ์ความแตกต่างระหว่างผู้รับสารกับผู้ส่งสาร
5.1 การสื่อสารระหว่างเชื้อชาติ
5.2 การสื่อสารระหว่างวัฒนธรรม
5.3 การสื่อสารระหว่างประเทศ
6.จำแนกโดยถือลักษณะเนื้อหาวิชา
6.1 ประเภทข่าวสาร
6.2 การสื่อสารระหว่างบุคคล
6.3 การสื่อสารมวลชน
6.4 การสื่อสารการเมือง
6.5 การสื่อสารในองค์การ
6.6 การสื่อสารระหว่างบุคคลหรือกลุ่มบุคคล
6.7 การสื่อสารการสอน
6.8 การสื่อสารสาธารณสุข
อุปสรรคในการสื่อสาร
อุปสรรคในการสื่อสาร หมายถึง สิ่งที่ทำให้การสื่อสารไม่บรรลุตามวัตถุประสงค์ของผู้สื่อสารและผู้รับสาร
ดังนั้น อุปสรรคในการสื่อสารจากองค์ประกอบต่าง
ๆ ดังนี้
1.อุปสรรคที่เกิดจากผู้ส่งสาร
2.อุปสรรคที่เกิดจากสาร
3.อุปสรรคที่เกิดขึ้นจากสื่อ หรือช่องทาง
4.อุปสรรคที่เกิดจากผู้รับสาร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น